กิจกรรมหลักดานโลจิสติกส์
(Logistics Activities)ประกอบดวยกิจกรรมหลากหลายประเภท
ซึ่งแตละกิจกรรมลวนแตเปนองคประกอบหนึ่งที่มีความสําคัญตอระบบโลจิสติ กสที่ตองอาศัยการประสานและต้องการเชื่่่อมโยงและประสานกันของกิจกรรมต่างๆ
เหล่านี้ต้องเชื่อมโยงกันให้ครบทุกกิจกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
กิจกรรมโลจิสติกส์ ประกอบด้วย Activities ดังนี้
- Customer service and support (การบริการลูกค้า)
- Demand forecasting and planning (การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ความต้องการของลูกค้า)
- Sourcing (การดำเนินการจัดซื้อและจัดหา)
- Inventory management (การจัดการสินค้าคงคลัง)
- Logistics communication and order processing (การสื่อสารโลจิสติกส์และการประมวลผลและการดำเนินการกับคำสั่งซื้อ)
- Material handling and packaging (การจัดการวัสดุและบรรจุภัณฑ์)
- Transportation management (การจัดการด้านการขนส่ง)
- Reverse logistics (โลจิสติกส์ย้อนกลับ อาทิเช่น การจัดการสินค้าคืน)
- Facilities site selection, warehousing, and storage (การคัดเลือกสถานที่ก่อสร้างคลังสินค้าและโรงงาน)
กิจกรรมต่างๆ
ที่อยู่ในขอบข่ายกระบวนการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management ) ประกอบด้วย
• งานบริการลูกค้า
• การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า
• การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ความต้องการของลูกค้า
• การดำเนินการจัดซื้อและจัดหา
• การวางแผนการผลิต
• การจัดการสินค้าคงคลัง
• การสื่อสารในการกระจายสินค้า
• การจัดการวัตถุดิบ
• การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
• การสนับสนุนอะไหล่และการบริการ
• การบรรจุหีบห่อ
• การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ
• การขนของและการจัดส่ง
• การกำจัดของเสียที่เกิดจากการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ
• โลจิสติกส์ย้อนกลับ (อาทิเช่น การจัดการสินค้าคืน)
• การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย
• การกระจายสินค้า
• คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง
• การคัดเลือกสถานที่ก่อสร้างคลังสินค้าและโรงงาน
• การจราจรและการขนส่ง
• กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
• การรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง
การเชื่่่อมโยงและประสานกันของกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ต้องเชื่อมโยงกันให้ครบทุกกิจกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิผลใน อุตสาหกรรม ในแต่ละบริษัทที่มีลักษณะกิจกรรมพื้นฐานที่แตกต่างกันตามลักษณะของธุรกิจ ผลิตภัณฑ์การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ประเภทโครงสร้างองค์กร ระดับการกิจกรรมโลจิสติกส์ ในบริษัทซึ่งการเริ่มต้นอาจจะเริ่มต้นจากบางกิจกรรม แล้วขยายผลให้ครอบคลุมทั้งบริษัท กิจกรรมโลจิสติกส์จึงเป็นความร่วมมือกันในการวางแผน, การดำเนินการ, การควบคุมสินค้า, การบริหารจัดการเคลื่อนย้ายเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ และการไหลของข้อมูลผ่านองค์กรอย่างประสานสอดคล้องที่มีประสิทธิภาพ ฉะนั้นแล้วถ้ามีการบูรณาการ ( Integrate )และเชื่อมโยงกิจกรรมในการดำเนินงานให้มีมาตรฐานของจัดการเดียวกัน ความเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นใน Logistics คือ การที่ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานนั้นมีแนวคิดเดียวกันในการจัดการ ด้านเวลาและสถานที่ซึ่งในทุกกิจกรรมของการไหลระหว่างกระบวนการ การดำเนินกิจกรรมด้าน Logistics ต้องทำให้แน่ว่ามีสิ่งต่าง ๆ อยู่ตามด้านล่าง คือ
- การขนส่งสินค้าปริมาณถูกต้อง (Right Quantity )
- สินค้าส่งในคุณภาพที่ถูกต้อง (Right Quality )
- สินค้าส่งในสถานที่ถูกต้อง (Right Place)
- สินค้าส่งในเวลาที่ถูกต้อง และทันเวลาที่กําหนด (Right Time )
- สินค้าส่งถูกลูกค้า (Right Customer)
- สินค้าส่งในราคาที่เหมาะสม (Right Price) โดยมีต้นทุนต่ำที่สุด
- สินค้าส่งโดยมีต้นทุนต่ำที่สุด (Right Cost )
สรุปความหมายโดยรวมของการจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศ
ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนกลาง ในการแสวงหาแหล่งของวัตถุดิบและบริการ, การจัดหา, การเก็บสินค้าเข้าคลัง และการจัดส่งผลิตภัณฑ์
ที่ถูกต้องไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่พอเหมาะ โดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง,
การสิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย, ความเพียรพยาม.
และเงินทุน น้อยที่สุดเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิผล และการดำิเนินกิจการด้าน
Logistics ต้องทำให้แน่ใจไ้ด้ว่ามีสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
ปริมาณถูกต้อง (Right Quantity ) คุณภาพที่ถูกต้อง (Right
Quality ) สถานที่ถูกต้อง (Right Place) เวลาที่ถูกต้อง
(Right Time ) ลูกค้าถูกต้อง (Right Customer) ราคาที่เหมาะสม (Right Price) ต้นทุนต่ำที่สุด (Right
Cost )