กิจกรรมคลังสินค้าประกอบด้วยกิจกรรมต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
- การรับสินค้า (Receiving) กิจกรรมประกอบด้วย
ตรวจเช็คเอกสาร ชื่อลูกค้าจัดส่งถูกต้อง ใบส่งสินค้า ใบกำกับสินค้า , ใบแจ้งรายการสินค้าที่ขายให้ รวมทั้งราคาและอื่น ๆ ,ใบรายการบรรจุหีบห่อ
, House Air Waybill หรือ B/L (Bill of Lading ) เป็นต้น การขนถ่ายสินค้าจากพาหนะต่าง ๆ ที่นำสินค้าเข้ามา ณ.คลังสินค้า การตรวจเช็คสภาพสินค้า
การตรวจนับจำนวนสินค้ากับคำสั่งซื้อสินค้า เพื่อทำให้แน่ใจว่าสินค้าสั่งไปนั้นมีจำนวนที่รับเข้ามานั้นถูกต้องตาม
ปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ ปรับปรุงรายงานยอดสินค้าคงคลัง
- การแยกบรรจุล่วงหน้า (Prepackaging) เป็นการจัดแยกตามชนิดและประเภทสินค้า ซึ่งอาจจะทำการแยกจัดเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละชนิดสินค้า
เพื่อที่จะสามารถจัดสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังส่วนอื่น ๆ หรือลูกค้าอื่น ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้การจัดแยกสินค้านั้นสามารถจะทำครั้งเดียว
ทั้งหมด หรือทยอยทำก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ
- การจัดเก็บเข้าที่ (Put away) เป็นการนำสินค้าที่ได้มีการตรวจเช็คคุณภาพสินค้า
และจัดแยกสินค้าแต่ละชนิดและประเภทหรือจัดแยกเป็นกลุ่มถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ไปยังพื้นที่เตรียมไว้ในการจัดเก็บสินค้า
หรือการวางสินค้า ณ.ตำแหน่งที่จัดเตรียมไว้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเก็บรักษาสินค้า เพื่อรอการหยิบหรือเบิกจ่ายสินค้าในอนาคต
วิธีการเก็บรักษาสินค้านี้ขึ้นอยู่กับขนาด และ ปริมาณของสินค้านั้น ๆ และความยากง่ายในการดูแลสินค้าตลอดจนลักษณะหีบห่อของสินค้านั้น
ๆ
- การหยิบสินค้าตามรายการ(Order Picking) คือกระบวนการการนำสินค้าออกจากพื้นที่จัดเก็บสินค้า โดยเลือกทำตามคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า และเลือกหยิบหรือจัดเตรียมสินค้าตามชนิด ประเภท ปริมาณสินค้า ตามคำสั่งซื้อ ของลูกค้า ให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด
- การหยิบสินค้าตามรายการ(Order Picking) คือกระบวนการการนำสินค้าออกจากพื้นที่จัดเก็บสินค้า โดยเลือกทำตามคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า และเลือกหยิบหรือจัดเตรียมสินค้าตามชนิด ประเภท ปริมาณสินค้า ตามคำสั่งซื้อ ของลูกค้า ให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด
- การบรรจุหีบห่อ (Packaging) เพื่อป้องกันสินค้าเสียหาย
ระหว่างการขนส่งจนถึงมือลูกค้า ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาชนิดของวัสดุเป็นอย่างดี สินค้าบางอย่างไม่ควร
บรรจุด้วยกัน เพราะจะทําให้เกิดอันตราย เช่น สารเคมี ผงซักฟอกกับน้ำ ทั้ง ๆ
ที่ต่างก็ปิดมิดชิด ก็เกิดอันตรายได้ สบู่กับกระดาษชำระ
ถ้าบรรจุไปด้วยกันอาจทำให้กระดาษชำระมีกลิ่นของสบู่ได้ เป็นต้น
การใส่หีบห่อต้องแนบใบกํากับสินค้า (Packing list) ไปด้วย พร้อมระบุว่าสินค้า
ใดอยู่กล่องไหน ระบุว่าจํานวนหีบห่อที่ใส่ไปทั้งหมด มีจํานวนเท่าใด
- การคัดแยกและการรวมสินค้าเพื่อเตรียมจัดส่ง (Sortation
and Accumulation for Prepare Delivery ) เป็นการจัดแยกสินค้าที่ได้ทำการจัดเตรียมสินค้า
ตามคำใบคำสั่งซื้อของลูกค้าเรียบร้อยแล้ว เพื่อจัดแยกประเภทสินค้าและกลุ่มลูกค้า เพื่อเตรียมจัดส่งให้กับทางลูกค้าตามเวลาที่กำหนดต่อไป
- การจัดกลุ่มและการจัดส่งสินค้า
(Unitizing and Shipping) ประกอบด้วยงานดังต่อไปนี้
- ทำการตรวจสอบจำนวนสินค้าและคุณภาพของสินค้าให้ถูกต้องตามใบคำสั่งซื้อหรือไม่
- การบรรจุหีบห่อสินค้าในบรรจุภัณฑ์มีความเหมาะสมต่อการขนส่งหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหายระหว่างการขนส่งได้
- มีการจัดเตรียมใบขนส่งสินค้ารายละเอียดสินค้าที่บรรจุที่อยู่ถูกต้องหรือไม่เช่นใบกำกับสินค้า (Packing List ) เป็นต้น
- รวบรวมรายการตามใบสั่งสินค้า โดยแยกประเภทสินค้าและกลุ่มลูกค้า ตามผู้ขนส่งสินค้า
- ทำการบันทึกข้อมูลสินค้า พร้อมทั้งปรับปรุงรายงานยอดสินค้าคงคลังสินค้า
คลังสินค้า(Warehouse) ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของกิจกรรม
Logistics ความสำคัญของคลังสินค้านอกจากจะเป็นสถานที่ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าแล้ว
ถ้ามีระบบการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพแล้วย่อมทำให้เกิดความพึงพอใจ กับด้านบริการแก่ลูกค้า
สามารถจัดส่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว ถูกที่ ถูกเวลา